เทคนิคและขั้นตอนการใช้ยาพ่นจมูก ยาพ่นจมูกแต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จึงอาจส่งผลให้มีอาการข้างเคียงแตกต่างกันไป ดังนั้น ก่อนใช้ยาพ่นจมูกผู้ป่วยจึงควรศึกษาข้อมูลยาจากฉลากอย่างละเอียดและใช้ยาอย่างถูกวิธี หากใช้แล้วมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และไปพบแพทย์ทันทีหากอาการเหล่านั้นยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
ตัวอย่างผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยาพ่นจมูก เช่น
-ยาพ่นจมูกกลุ่มยาสเตียรอยด์ ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ แสบจมูก จมูกแห้ง, ระคายเคืองคอ คอแห้ง, มีรสชาติไม่พึงประสงค์ในปาก, มีอาการบวม แดง และคันในจมูก, มีเลือดกำเดาไหล
-ยาพ่นจมูกกลุ่มยาแก้อาการคัดจมูก ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ น้ำมูกไหล, ระคายเคืองในจมูก, แสบหรือปวดจมูก
ยาพ่นจมูกแต่ละยี่ห้อต่างกันอย่างไร ?
สำหรับยาพ่นจมูกกลุ่มยาแก้อาการคัดจมูกจะออกฤทธิ์เหมือน ๆ กัน แต่จะแตกต่างกันตรงตัวยาที่ใช้ ขนาดของยา และระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยา ซึ่งตัวยาบางยี่ห้อก็สามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมงต่อการพ่น 1 ครั้ง เช่น iliadin (ยาที่ออกฤทธิ์ยาวสามารถช่วยลดจำนวนการใช้ยาและลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาให้น้อยลงได้) และ iliadin ก็มียาบรรเทาอาการคัดจมูกที่ใช้ในเด็กอายุ 1-6 ปีด้วย ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของยาหยด
คำแนะนำในการใช้ยาพ่นจมูก
1. นั่งตัวตรง ก้มหน้าลง
2. หากมีน้ำมูกให้สั่งน้ำมูกเบาๆ หรือหากล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ให้สั่งน้ำที่ค้างในช่องจมูกออกก่อน ในบางครั้งสั่งน้ำมูกแล้วยังรู้สึกคัดจมูก อาจเกิดจากเยื่อบุจมูกบวม ให้รับประทานยาลดอาการคัดจมูกก่อนพ่นยาประมาณ 30 นาที
3. จับขวดยาด้วยมือขวาขณะพ่นจมูกข้างซ้าย และใช้มือซ้ายจับขวดยาขณะพ่นจมูกข้างขวา โดยใช้นิ้วหัวแม่มือจับที่ก้นขวด นิ้วชี้และนิ้วกลางจับที่คอขวด ให้ขวดยาเฉียงออกทางด้านข้างในแนวเข้าหาหางตาข้างนั้น พ่นยาพร้อมสูดลมหายใจเข้าเบาๆ (พ่นข้างละ 1 ครั้ง ต่อจมูก 1 ข้าง วันละ 1-2 ครั้ง ตามคำแนะนำของแพทย์)
4. หลังพ่นยาไม่ควรสั่งน้ำมูกเป็นเวลา 15 นาที เนื่องจากยาที่พ่นอาจออกมาพร้อมน้ำมูก (หากมียาไหลลงคอให้กลืนได้หรือกลั้วคอด้วยน้ำสะอาด)
5. ปิดฝาและเก็บยาไว้ที่อุณหภูมิน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 องศาเซลเซียส และก่อนใช้ยาครั้งต่อไปให้นำออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้อง หรือกำขวดยาให้อุ่นก่อนแล้วจึงพ่นจมูก (หากมีอาการแสบร้อนจมูกหลังพ่นยา ควรปรึกษาแพทย์ และการพ่นยาผิดวิธีอาจทำให้มีเลือดกำเดาไหล ผนังกั้นจมูกทะลุได้)
วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
1. ซื้อน้ำดื่มสะอาด ปริมาตร 500 ซีซี. 1 ขวด
2. เติมเกลือสะอาด เช่น เกลือปรุงทิพย์ 1 ช้อนชา ผสมลงในขวดน้ำ เขย่าให้เข้ากันให้ดี
3. ซื้อลูกยางแดง 1 ลูก หรือกระบอกฉีดยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาด ดูดน้ำเกลือเข้าไปในลูกยางแดง
4. พ่นน้ำเกลือจากลูกยางเข้าไปในจมูกเบา ๆ ข้างละ 1 ลูก (อาจจะสำลักได้ไม่ต้องตกใจ)
5. ใช้ยาพ่นจมูกตามที่แพทย์สั่ง
6. เก็บน้ำที่เหลือไว้ในตู้เย็นเพื่อใช้ต่อไป ควรล้างจมูกตามที่แพทย์สั่ง เช่น วันละ 1-2 ครั้ง